วันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2553

สมดุลเคมี

1. การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
2. การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดภาวะสมดุล
3. ความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มข้นของสารต่าง ๆ ณ ภาวะสมดุล
4. ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสมดุล
5. หลักของเลอชาเตอลิเอ
6. สมดุลเคมีในสิ่งมีชีวิต และในสิ่งแวดล้อม

การเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้
แบบฝึกหัด

1. ปฏิกิริยาผันกลับได้ หมายถึง ……………………………………………………………………

2. ยกตัวอย่าง หรือเขียนแสดงตัวอย่างปฏิกิริยาที่ผันกลับได้ …………………………………………

3. ปฏิกิริยาผันกลับได้ประกอบด้วยปฏิกิริยาอะไรบ้าง และจะมีวิธีทดสอบได้อย่างไร ………………

4. ปฏิกิริยาการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้
(1) CaCO3(s) CaO(s) + CO2(g)

(2) 2HI(g) H2(g) + I2(g)

(3) N2O4(g) 2NO2(g)

(4) H2O(l) H+(aq) + OH-(aq)

(5) H2O(s) + ความร้อน H2O(l)

(6) Cu2+(aq) + [Fe(CN)6]4+(aq) Cu2[Fe(CN)6](s)

(7) [Co(H2O)]2+(aq) + 4Cl- (aq) [CoCl4]2- (aq) + H2O(l)

(8) CO23- (aq) + 2H+(aq) H2O(l) + CO2(g)

(9) FeCl2(aq) + 2AgNO3(aq) Fe(NO3)2(aq) + 2AgCl(s)

(10) ปฏิกิริยาระหว่าง Mg กับสารละลาย HCl

4.1 การเปลี่ยนแปลงในข้อใดเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้ในภาชนะเปิด ……………………

4.2 การเปลี่ยนแปลงในข้อใดเป็นปฏิกิริยาผันกลับได้ในภาชนะปิด……………………


5. ถ้าปฏิกิริยาเกิดขึ้นดังนี้ A + 2B 3C จะทราบได้อย่างไรว่าปฏิกิริยาระหว่าง A
และ B ผันกลับได้หรือไม่………………………………………

การทดลองการเปลี่ยนแปลงที่ผันกลับได้ (ขอขอบคุณคลิปการทดลองจาก you tube)









การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดภาวะสมดุล
แบบฝึกหัด

1. ภาวะสมดุล หมายถึงอะไร และมีภาวะสมดุลของระบบอะไรบ้าง …………………
2. สมดุลไดนามิก หมายถึง ………………………………………………………………
3. เมื่อระบบอยู่ในภาวะสมดุล สมบัติของระบบจะเป็นอย่างไรบ้าง ……………………………………………
4. เมื่อเผาแคลเซียมคาร์บอเนตจะเกิดการสลายตัวดังสมการ
CaCO3 (s) CaO (s) + CO2 ร
ะบบจะอยู่ในภาวะสมดุลหรือไม่ในกรณีต่อไปนี้
ก. ปฏิกิริยาเกิดในภาชนะเปิด ……………………………………………………………..
ข. ปฏิกิริยาเกิดในภาชนะปิด ……………………………………………………….. ……
5. ระบบที่อยู่ในภาวะสมดุลไดนามิกจะมีลักษณะเช่นใด ……………………………………
6. ระบบใดต่อไปนี้อยู่ในภาวะสมดุลไดนามิก จงอธิบาย
ก. ปรอทและไอปรอทในเทอร์มอมิเตอร์ ณ อุณหภูมิคงที่ …………....................
ข. หลอดคะปิลลารีชนิดปลายเปิดทั้งสองด้านโดยที่ด้านหนึ่งจุ่มอยู่ในน้ำ ………
7. ปัจจัยใดบ้างเป็นองค์ประกอบที่ทำให้ปฏิกิริยาเคมีอยู่ในภาวะสมดุล ……………………
การทดลองการเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดภาวะสมดุล

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

MOLE







แบบฝึกเสริมทักษะการคิดโจทย์ปัญหาทางเคมี
เรื่อง
มวลอะตอมและมวลโมเลกุล




โดย
นางสาวอัจฉราวรรณ กันจินะ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์




โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ

โครงสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการคิดโจทย์ปัญหาทางเคมี

วัตถุประสงค์
เพื่อฝึกเสริมทักษะการคิดในแก้ปัญหาโจทย์ทางเคมี เรื่อง มวลอะตอมและมวลโมเลกุล
องค์ประกอบของแบบฝึกนี้ ประกอบด้วย
1. แบบทดสอบก่อนเรียน
2. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง/จุดประสงค์การเรียนรู้
3. ทบทวนหลักการ
4. ตัวอย่างการวิเคราะห์
5. แบบฝึกหัด
6. เฉลยแบบฝึกหัด
7. แบบทดสอบหลังเรียน



คำแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการคิดโจทย์ปัญหาทางเคมี
เรื่อง มวลอะตอมและมวลโมเลกุล
แบบฝึกเสริมทักษะการคิดชุดนี้เป็นแบบฝึกที่นักเรียนใช้เรียนซ่อมเสริมด้วยความสามารถของนักเรียนเอง ขอให้นักเรียนอ่านคำแนะนำชี้แจง และทำตามคำแนะนำแต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ต้นจนจบแล้วนักเรียนจะได้รับความรู้อย่างครบถ้วน เพราะแบบฝึกชุดนี้ไม่ใช่การทดสอบแต่มุ่งให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตามความสามารถ นักเรียนควรมีสมาธิและความซื่อสัตย์ต่อตนเอง ในขณะใช้แบบฝึกทักษะ และปฏิบัติโดยไม่เปิดดูเฉลยคำตอบก่อน ขอให้นักเรียนปฏิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ทำแบบทดสอบก่อนเรียน
การทดสอบขั้นนี้ เป็นการวัดความรู้เดิมของนักเรียนถ้าตอบไม่ได้ไม่ควร “เดา” เพราะคะแนนที่ได้บอกเพียงว่าก่อนเรียนนักเรียนมีความรู้เท่าใดเท่านั้น

2. อ่านจุดประสงค์

3. ลักษณะของแบบฝึก
แบบฝึกจะมีลักษณะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ แบบทดสอบก่อนเรียน ทบทวนหลักการ/ทบทวนความรู้ แบบฝึกหัด ทดสอบหลังเรียน ให้นักเรียนศึกษาสรุปความรู้ ตัวอย่างการคิดวิเคราะห์ และมีแบบฝึกหัดเพื่อให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ และหาคำตอบ ถ้านักเรียนตอบถูกแสดงว่าเข้าใจดี สามารถผ่านไปศึกษาเรื่องต่อไปได้ตามลำดับ แต่ถ้านักเรียนตอบผิด ให้กลับไปศึกษาซ้ำอีกครั้ง 1 ถึง 2 รอบ ให้เกิดความเข้าใจในลำดับขั้นตอน

4. ให้นักเรียนศึกษาไปตามลำดับขั้นตอน
อย่าศึกษาข้ามเรื่องเพราะแบบฝึกจะไม่ต่อเนื่องกัน ขอให้นักเรียนศึกษาไปเรื่อย ๆ และทำความเข้าใจทุก ๆ เรื่อง

5. ทดสอบหลังเรียน
การทดสอบหลังเรียนเป็นการวัดความเข้าใจแบบฝึกทั้งหมด นักเรียนต้องตั้งใจ และพยายามทำจนสุดความสามารถ เพราะการทดสอบครั้งนี้จะทำให้นักเรียนทราบว่านักเรียนได้เรียนรู้แบบฝึกทั้งหมดหรือไม่

ขอให้นักเรียนโชคดี


ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและจุดประสงค์การเรียนรู้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
อภิปราย วิเคราะห์และคำนวณเกี่ยวกับมวลอะตอม และมวลโมเลกุล

จุดประสงค์การเรียนรู้
1. คำนวณหาความเข้มข้นของไอออนในสารละลายกรดแก่ได้

มวลอะตอม

เนื่องจากอะตอมมีขนาดเล็กมากไม่สามารถหามวลได้ จึงใช้การเปรียบเทียบกับอะตอมของธาตุชนิดหนึ่ง โดยกำหนดให้ธาตุใดธาตุหนึ่งเป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ ค่าเปรียบเทียบที่ได้เรียกว่า “มวลอะตอม”
ดอลตันพบว่า ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุด จึงแสดงให้ใช้ไฮโดรเจนเป็นธาตุมาตรฐานในการเปรียบเทียบ

ต่อมาเสนอให้ใช้ออกซิเจนแทน เนื่องจากออกซิเจน 1 อะตอม มีมวลเป็น16 เท่าของไฮโดรเจน 1 อะตอม


ต่อมาเสนอให้ใช้คาร์บอน -12 แทน และเนื่องจากคาร์บอน-12 1 อะตอม มีมวลเป็น12 เท่าของไฮโดรเจน 1 อะตอม และ 1/12 มวลของคาร์บอน-12 1 อะตอม มีมวลเท่ากับ 1.66 x 10 -24 กรัมดังนั้น


ตัวอย่างที่ 1 ธาตุ A อะตอมมีมวล 4.19 x 10-22 g มวลอะตอมของธาตุ A มีค่าเท่าใด
ธาตุ A 2 อะตอม มีมวล 4.19 x 10-22 g
ธาตุ A 1 อะตอม มีมวล
มวลอะตอมของธาตุ A =
=
= 1.2620 × 102
\ ธาตุ A มีมวลอะตอม = 126.20
ตัวอย่างที่ 2 ธาตุยูเรเนียม (U) มีมวลอะตอม 238 ธาตุยูเรเนียม 5 อะตอมหนักกี่กรัม
มวลอะตอมของ U =
มวลของ U 1 อะตอม = 238 × 1.66 × 10-24
= 395.08 × 10-24
= 3.9508 × 10-22
มวลของ U 5 อะตอม = 3.9508 × 10-22 × 5
= 19.7540 × 10-22
= 1.97540 × 10-21

\ ธาตุยูเรเนียม 5 อะตอม หนัก 1.97540 × 10-21

แบบฝึกหัด เรื่อง มวลอะตอม
1. จงหามวลอะตอมของกำมะถัน เมื่อกำมะถัน 1 อะตอมมีมวล 32 x 1.66 x 10-24 g
2. ธาตุ A 1 อะตอม มีมวล 1.5 x 10 -22 กรัม มวลอะตอมของธาตุ A ค่าเท่าไร
3. โซเดียม 10 อะตอม มีมวล 3.82 × 10-22 g มวลอะตอมของธาตุโซเดียมมีค่าเท่าใด
4. มวลอะตอมของไฮโดรเจนเท่ากับ 1.008 ไฮโดรเจน 1 อะตอม จะมีมวลกี่กรัม
5. ธาตุ X มีมวลอะตอมเท่ากับ 40 ดังนั้นมวลของธาตุ X 2 อะตอมจะมีมวลกี่กรัม












มวลอะตอมของธาตุที่มีไอโซโทป
ธาตุส่วนใหญ่ในธรรมชาติมีมากกว่าหนึ่งไอโซโทป แต่ละไอโซโทปมีมวลและปริมาณไม่เท่ากัน ดังนั้นการที่จะพิจารณาว่าธาตุแต่ละชนิดมีมวลอะตอมเท่าใดจึงต้องใช้ค่ามวลอะตอมเฉลี่ยหรือเรียกสั้น ๆ ว่า มวลอะตอม

ตัวอย่างที่ 3 ออกซิเจนในธรรมชาติประกอบด้วย 3 ไอโซโทป คือ (99.759%) มีมวล 15.9949 (0.037%) มีมวล 16.9991 (0.204%) มีมวล 17.9991 จงคำนวณหามวลอะตอมเฉลี่ย


=

=

= 15.399935
\ มวลอะตอมเฉลี่ยของออกซิเจนเท่ากับ 15.9935

แบบฝึกหัด เรื่อง มวลอะตอมเฉลี่ย
1. จงหามวลอะตอมของอิริเดียม (Ir) จากข้อมูลต่อไปนี้
ไอโซโทป
มวลอะตอมของไอโซโทป
ปริมาณร้อยละในธรรมชาติ
Ir-191
Ir-191
191.00
193.00
37.30
62.70

2. คาร์บอนมีไอโซโทป 2 ชนิด คือ กับ ค่ามวลอะตอมเฉลี่ยของคาร์บอนเป็นเท่าใด โดยกำหนดให้ มีในธรรมชาติ 98389% มวลอะตอม 12.000 มีในธรรมชาติ 1.11% มวลอะตอม 13.003

3. ไนโตรเจนในธรรมชาติมีไอโซโทป คือ กับ มีมวลอะตอมเฉลี่ย 14.0067 มีในธรรมชาติ 99.625% มีมวลอะตอม 14.003 ส่วน มีในธรรมชาติ 0.375% จงหามวลอะตอมของ โดยให้มวลอะตอม เป็น X

4. ธาตุคลอรีนในธรรมชาติมี 2 ไอโซโทป คือ และ มีมวลอะตอม 34.969 amu และ 36.956 amu ตามลำดับ และมีมวลอะตอมเฉลี่ย 35.45 จงคำนวณหาว่ามี และ อย่างละกี่ % โดยในธรรมชาติ ให้ มี ในธรรมชาติเท่ากับ n % และมี ในธรรมชาติเท่ากับ 100 - n %

5. ธาตุ A มี 3 ไอโซโทปมีมวลอะตอม 16, 18 และ 20 ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่าในธรรมชาติมีชนิดที่ 1 เป็น 5 เท่าของชนิดที่ 2 ถ้ามวลอะตอมเฉลี่ยของธาตุ A = 19.5 จงหาร้อยละของไอโซโทปที่ 3

















มวลโมเลกุล

โมเลกุล คือ อนุภาคที่เล็กที่สุดของสารซึ่งสามารถดำรงตัวอยู่เป็นอิสระได้ และแสดงสมบัติของสารได้ครบถ้วน โมเลกุลส่วนใหญ่จะประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 1 อะตอม
เนื่องจากโมเลกุลของสารมีขนาดเล็กมาก ไม่สามารถชั่งได้รวมทั้งไม่สะดวกในการนำไปใช้ จึงนิยมใช้ค่าเปรียบเทียบเช่นเดียวกับมวลอะตอม
ปัจจุบันใช้ C-12 เป็นมาตรฐาน ถือว่า มวลอะตอมของ C-12 , 1 อะตอมเท่ากับ 1 หน่วยมาตรฐาน เขียนเป็นความสัมพันธ์ได้ดังนี้
หรือ

มวลโมเลกุลเป็นตัวเลขที่ไม่มีหน่วย ส่วนมวลของสาร 1 โมเลกุล มีหน่วยและมีความสัมพันธ์ ดังนี้

มวลของสาร 1 โมเลกลุ = มวลโมเลกุล × 1.66 × 10-24 กรัม

ตัวอย่างที่ 4 สาร A 10 โมเลกุลมีมวลเท่ากับ 2.656 × 10-21 กรัม มวลโมเลกุลของสาร A มีค่าเท่าใด
สาร A 10 โมเลกุลมีมวล = 2.656 × 10-21 กรัม
สาร A 1 โมเลกุลมีมวล = กรัม
มวลโมเลกุลของสาร =
มวลโมเลกุลของสาร A =
= 160
\ สาร A มีมวลโมเลกุล 160


นอกจากนี้ มวลโมเลกลุยังสามารถหาได้จากการคำนวณผลรวมของมวลอะตอมในโมเลกุล ดังนี้
H = 1
S = 32
O = 16
ตัวอย่างที่ 5 กรดซัลฟิวริก (H 2 อะตอม S 1 อะตอม และ O 4 อะตอม)
H2SO4 = (2 x 1) + (1 x 32) + (4 x 16)
= 2 + 32 + 64
= 98
\ กรดซัลฟิวริกมีมวลโมเลกุล 98

แบบฝึกหัด เรื่อง มวลโมเลกุล

1. กรดโมเลอิก 1 โมเลกุล มีมวลเท่ากับ 282 ´ 1.66 ´ 10-24 g จะมีมวลโมเลกุลเท่าใด

2. สาร X 5 โมเลกุลมีมวลเป็น 3 เท่าของสาร Y 1 โมเลกุล ถ้าสาร Y มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 58 จงหามวลโมเลกุล และมวล 1 โมเลกุลของสาร X

3. กำมะถัน 1 โมเลกุลประกอบด้วยกำมะถันกี่อะตอม ถ้ากำมะถันมีมวลโมเลกุล 256.523 และมวลอะตอมเท่ากับ 32.066

4. จงหามวลโมเลกุลของสารต่อไปนี้
1) กรดแอซิติก (C2H4O2)
2) เลด (II) ไนเตรต (Pb(NO3)2)
3) แอมเฟตามีน (C9H13N)
4) กลีเซอรอล (C3H8O3)

5. ฟอสฟอรัส 1 โมเลกุล มี 4 อะตอม ถ้ามวลโมเลกุลของฟอสฟอรัสเท่ากับ 124 จงหามวลอะตอมของฟอสฟอรัส





เฉลยแบบฝึกหัด

1. โซเดียม 10 อะตอม มีมวล 3.82 × 10-22 g มวลอะตอมของธาตุโซเดียมมีค่าเท่าใด
โซเดียม 10 อะตอม มีมวล 3.82 × 10-22 g
โซเดียม 1 อะตอม มีมวล
มวลอะตอมของ Na =
=
= 2.301 × 10
= 23.01
\ โซเดียมมีมวลอะตอม 23.01


2. คาร์บอนมีไอโซโทป 2 ชนิด คือ กับ ค่ามวลอะตอมเฉลี่ยของคาร์บอนเป็นเท่าใด โดยกำหนดให้ มีในธรรมชาติ 98389% มวลอะตอม 12.000 มีในธรรมชาติ 1.11% มวลอะตอม 13.003

=

=

=

= 12.0111333
\ กับ มวลอะตอมเฉลี่ย 12.0111333



3. ไนโตรเจนในธรรมชาติมีไอโซโทป คือ กับ มีมวลอะตอมเฉลี่ย 14.0067 มีในธรรมชาติ 99.625% มีมวลอะตอม 14.003 มีในธรรมชาติ 0.375% จงหามวลอะตอมของ ให้มวลอะตอม เป็น X

14.0067 =

1400.67 = 1,395.0488 + 0.375X

5.6212 = 0.375X

= X

14.99 = X
\ มีมวลอะตอม 14.99

4. ธาตุคลอรีนในธรรมชาติมี 2 ไอโซโทป คือ และ มีมวลอะตอม 34.969 amu และ 36.956 amu ตามลำดับ และมีมวลอะตอมเฉลี่ย 35.45 จงคำนวณหาว่ามี และ อย่างละกี่ % ในธรรมชาติ ให้ มี ในธรรมชาติเท่ากับ n % มี ในธรรมชาติเท่ากับ 100 - n %

35.45 =

3,545 = 34.969X + 3,6956 - 36956n
3,545 - 3695.6 = 34.969X - 36.956X
- 150.6 = - 1.987X

= X

75.79 = X
มี ในธรรมชาติ = 75.79%
มี ในธรรมชาติ = 100 - 75.79
= 24.21%
\ มี ในธรรมชาติ = 75.79% และมี ในธรรมชาติ = 24.21%
5. กรดโมเลอิก 1 โมเลกุล มีมวลเท่ากับ 282 ´ 1.66 ´ 10-24 g จะมีมวลโมเลกุลเท่าใด
มวลโมเลกุล =
=

= 282
\ กรดโมเลอิกมีมวลโมเลกุล 282


6. สาร X 5 โมเลกุลมีมวลเป็น 3 เท่าของสาร Y 1 โมเลกุล ถ้าสาร Y มีมวลโมเลกุลเท่ากับ 58 จงหามวลโมเลกุล และมวล 1 โมเลกุลของสาร X
หา Y 1 โมเลกุล
มวลโมเลกุล =

มวล 1 โมเลกุล = 58 ´ 1.66 ´ 10-24

หา X 5 โมเลกุล =

= 57.77 ´ 10-24

หามวลโมเลกุลของ X =

=

= 34.80
\ มวลโมเลกุลของ X = 57.77 ´ 10-24
มวล 1 โมเลกุลของ X = 34.80



7. จงหามวลโมเลกุลของสารต่อไปนี้
1) กรดแอซิติก C2H4O2 C = 12, H = 1, O = 16
มวลโมเลกุล = (จำนวนอะตอม ´ มวลอะตอม)
= (2 ´ 12) + (4 ´ 1) + (2 ´ 16)
= 24 + 4 + 32
= 60
\ กรดแอซิติกมีมวลโมเลกุล 60

2) เลด (II) ไนเตรต Pb(NO3)2 Pb = 207, N = 14, O = 16
มวลโมเลกุล = (จำนวนอะตอม ´ มวลอะตอม)
= (1 ´ 207) + (2 ´ 14) + (6 ´ 16)
= 207 + 28 + 96
= 331
\ เลด (II) ไนเตรต มีมวลโมเลกุล 331

3) แอมเฟตามีน C9H13N C = 12, H = 1, N = 14
มวลโมเลกุล = (จำนวนอะตอม ´ มวลอะตอม)
= (9 ´ 12) + (13 ´ 1) + (1 ´ 14)
= 108 + 13 + 14
= 135
\ แอมเฟตามีน มีมวลโมเลกุล 135
8. ฟอสฟอรัส 1 โมเลกุล มี 4 อะตอม ถ้ามวลโมเลกุลของฟอสฟอรัสเท่ากับ 124 จงหามวลอะตอมของฟอสฟอรัส
มวลโมเลกุล = (จำนวนอะตอม ´ มวลอะตอม)
124 = 4 ´ มวลอะตอม
= มวลอะตอม
มวลอะตอม = 31
\ ฟอสฟอรัส 4 อะตอม มีมวลอะตอม 31 g






















แบบทดสอบ

1. ธาตุ A 1 อะตอม จะมีมวลเท่าใด เมื่อ ธาตุ A มีมวลอะตอมเท่ากับ 32
ก. 16 ข. 32
ค. 32 x 1.66 x10- 24 ง. 16 x 6.02 x10- 23

2. สารประกอบ B 5 โมเลกุล มีมวล 60 x 1.66 x 10- 24 กรัม มวลโมเลกุลของสาร A มีค่าเท่าไร
ก. 5 ข. 60
ค. 12 ง. 12 x1.66 x10- 24

3. ทองแดงมีไอโซโทปที่เสถียรสองไอโซโทป คือ 63Cu และ 65Cu สมมติว่าทั้งสองไอโซโทปมีมวลอะตอม เท่ากับ 63 และ 65 ตามลำดับจะมี 63Cu และ 65Cu ในธรรมชาติอย่างละกี่เปอร์เซ็นต์
(กำหนดมวลอะตอมเฉลี่ยของทองแดง เท่ากับ 63.546)
ก. 63Cu 72.7 และ 65Cu 27.3 ข. 63Cu 77.3 และ 65Cu 22.7
ค. 63Cu 70.4 และ 65Cu 29.7 ง. 63Cu 75.2 และ 65Cu 24.8

4. มวลโมเลกุลของสารประกอบในข้อใด มากที่สุด
ก. H4PO7 ข. Al2(SO4)3
ค. Na2S4O6 ง. C6H12O6

5. ถ้ามวลโมเลกุลของ CaMO4 = 136 จงคำนวณหามวลอะตอมของ M ( Ca=40, O=16)
ก. 16 ข. 32
ค. 39 ง. 40


วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

krutew

คุณพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือรับความรู้ หรือยัง
เกี่ยวกับเนื้อหาสาระทางสาขาเคมี
ให้นักเรียนเลือกเปิดเรื่องที่จะศึกษาที่คลังบทความของบล็อกได้
มีทั้งแบบฝึกหัดและตัวอย่างคลิปการทดลอง

โดย นางสาวอัจฉราวรรณ กันจินะ
วุฒิทางการศึกษา วทม.การสอนเคมี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 2